สารบัญ
10 ที่เที่ยว อ่างทอง ยอดนิยม 2024
1. วัดม่วง (Wat Muang)
- วัดม่วง เป็นวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่กับ จ.อ่างทอง มาอย่างยาวนาน
- ตั้งอยู่ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร
- เดิมเป็นวัดร้าง สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
- เป็นที่ประดิษฐานของ "พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ"
- เป็นองค์พระที่มีขนาดหน้าตักกว้าง 62 เมตร และสูง 93 เมตร
- พุทธลักษณะงดงามสีทองอร่าม สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล
- โบสถ์วัดม่วงมีความวิจิตรงดงามใหญ่โต ล้อมรอบด้วยกลีบบัวปูนปั้นที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในโลก
- ภายในมีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้า
- ส่วนบริเวณรอบๆ วัดมีรูปปูนปั้นพระอรหันต์ เทพเจ้าต่างๆ ทั้งจีนและพราหมณ์
- วัดม่วง เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 18.00 น.
2. วัดไชโยวรวิหาร (Wat Chaiyo Worawihan)
- เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นโท เดิมเป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ มีนามว่า วัดไชโย
- ตั้งอยู่ที่ตำบลไชโย อำเภอไชโย ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองประมาณ 18 กิโลเมตร
- พระวิหาร มีความสูงใหญ่ รูปทรงแปลกตา ด้านนอกมีรูปทวารบาลลายรดน้ำ เป็นรูปเสี้ยวกวาง
- ภายในพระอุโบสถ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นปางสมาธิ ผนังทุกด้านมีภาพจิตรกรรม เป็นภาพเหล่าทวยเทพที่วิจิตรงดงาม
- สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ ได้แก่ พระมหาพุทธพิมพ์ หรือ หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีพุทธลักษณะที่โดดเด่นและงดงามมากๆ
- วัดไชโยวรวิหาร เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00 - 17.00 น.
3. วัดขุนอินทประมูล (Wat Khun Inthapramun)
- วัดขุนอินทประมูล เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย
- เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ มีชื่อว่า "พระศรีเมืองทอง"
- มีความยาววัดจากปลายพระเมาลีถึงปลายพระบาทได้ 50 เมตร หรือประมาณ 25 วา
- มีพุทธลักษณะงดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม ดูสงบเยือกเย็น
- วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง ไปตามเส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง ประมาณ 7 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปประมาณ 2 กิโลเมตรกว่าอยู่ทางขวามือ
- วัดขุนอินทประมูล เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 18.00 น.
4. บ้านหุ่นเหล็ก (Ban Hun Lek)
- เป็นสถานที่ผลิตหุ่นเหล็กที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง
- เป็นการนำเอาชิ้นส่วนจากเศษเหล็กเก่าๆ มาดัดแปลงทำเป็นหุ่นยนต์ต่างๆ
- หุ่นเหล็กที่สร้างขึ้นได้รับความนิยมจากตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมาก
- บ้านหุ่นเหล็ก เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปเยี่ยมชมหุ่นต่างๆ
- มีผลงานมากมายหลากหลาย อาทิ แนวหุ่นยนต์จากภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์, รถยนต์, รถมอเตอร์ไซด์, ยานอวกาศ, สัตว์, เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
- โดยมีอัตราค่าเข้าชม: ผู้ใหญ่ 60 บาท และ เด็ก 30 บาท (เด็กความสูงต่ำกว่า 90 ซม. เข้าฟรี)
- การเดินทางโดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชียฝั่งขาเข้า) บ้านหุ่นเหล็กตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 56 (กม.56)
- บ้านหุ่นเหล็ก เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.
5. วัดสังกระต่าย อ่างทอง (Wat Sang Kratai)
- วัดสังกระต่าย เป็นโบราณสถานร้างตั้งอยู่ในตำบลศาลาแดง อำเภอเมืองอ่างทอง
- เดิมชื่อว่า วัดสามกระต่าย แต่ภายหลังได้เรียกเพี้ยนมาเป็น "วัดสังกระต่าย"
- วัดแห่งนี้มีอุโบสถที่มีอายุมากกว่า 400 ปี และถูกปกคลุมไปด้วยต้นโพธิ์ 4 ต้น
- ภายนอุโบสถมีพระพุทธรูป 3 องค์ คือ หลวงพ่อวันดี หลวงพ่อศรี และหลวงพ่อสุข
- มีห้องของพ่อปู่ฤาษี ซึ่งช่องหน้าต่างสามารถมองเข้าไปตรงกับองค์พระพอดี กับผนังที่ถูกอุ้มไว้ด้วยรากของต้นโพธิ์
- เป็นอีกหนึ่งวัดที่มีความเก่าแก่ และเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดอ่างทองที่ไม่ควรพลาด
6. วัดป่าโมกวรวิหาร อ่างทอง (Wat Pa Mok Worawihan)
- วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่สมัยสุโขทัย เดิมเรียกว่า "วัดใต้ท้ายตลาด"
- เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
- ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก
- สิ่งสำคัญในวัดแห่งนี้ ได้แก่ พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมอยุธยาตอนปลาย
- มีรูปทรงหลังคาเป็นฐานวิหารอ่อนโค้งรูปสำเภา หลังคาลด 2 ชั้น ต่อด้วยปีกนกด้านละ 2 แถบ มี 9 ห้อง
- ด้านหน้าเจาะเป็นประตู ทางเข้าประตูเขียนลายรดน้ำ ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ก้านแย่งยอด
- ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ พระอุโบสถมีขนาด 5 ห้อง หลังคาลดหลั่น 2 ชั้น
- หน้าบันมีลวดลายปูนปั้นรอบมณฑป ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอยสลักด้วยหิน มีความงดงามอย่างยิ่ง
- วัดป่าโมกวรวิหาร เปิดทำการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
7. วัดสี่ร้อย (Wat Si Roi)
- วัดสี่ร้อย เป็นวัดเก่าแก่ในอำเภอวิเศษชัยชาญ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย
- เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต ปางป่าเลไลย์ ที่มีหน้าตักกว้าง 6 เมตรเศษ และสูง 21 เมตร
- ชาวบ้านมักจะขอโชคลาภ และขอสิ่งต่างๆ ตามปรารถนา ซึ่งจะมีการแก้บนด้วยพลุและละคร
- วัดสี่ร้อยจึงได้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่น่าไปแห่งหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง
- การเดินทางจากทางหลวงหมายเลข 3195 เข้าทางหลวงหมายเลข 3454 ประมาณ 5 กิโลเมตร หรือ จากตลาดศาลเจ้าโรงทอง ถึงสี่แยกเลี้ยวซ้ายตามคลองชลประทานประมาณ 3 กิโลเมตร วัดจะอยู่ซ้ายมือ
8. วัดท่าอิฐ (Wat Tha It)
- วัดท่าอิฐ เป็นวัดเก่าแก่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คาดว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2304
- มีการสันนิษฐานว่า แต่เดิมเป็นสถานที่ปั้นเผาอิฐ เนื่องจากได้พบอิฐหน้าวัวขนาดใหญ่
- ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน นามว่า "หลวงพ่อเพ็ชร"
- ในวิหารประดิษฐาน "หลวงพ่อขาว" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยากว่า 200 ปี
- เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดอ่างทองให้การนับถือบูชา
- ความโดดเด่นของวัดอยู่ที่ พระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง สีเหลืองทองอร่ามโดดเด่น
- มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม รูปแบบศิลปะลังกา-อยุธยา และรัตนโกสินทร์
- มีความงดงามมาก โดยสร้างขึ้นเพื่อทดแทนเจดีย์หลังเดิมที่ผุพังไป และเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นที่สักการะบูชาให้แก่ผู้มาเยือน
- วัดท่าอิฐ เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 19.00 น.
9. พระตำหนักคำหยาด (Phra Tamnak Kham Yat)
- พระตำหนักคำหยาด ตั้งโดดเด่นอยู่กลางทุ่งนา ในท้องที่ตำบลคำหยาด
- สภาพพระตำหนักในปัจจุบันมีเพียงฝนัง 4 ด้าน
- ตัวอาคารก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร
- มีความสวยงามทางด้านศิลปกรรม อย่างลวดลายประดับซุ้มจระนำหน้าต่างที่มีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง ภายในทาดินแดงปูพื้นกระดาน
- เป็นประติมากรรมที่มีความสวยงาม และเป็นโบราณสถานที่ต้องไปสัมผัสเมื่อไปเยือนอ่างทอง
- พระตำหนักคำหยาด เปิดทำการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
10. ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ (Ban Bang Sadet Court Doll Center)
- ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดท่าสุทธาวาส ตำบลบางเสด็จ
- มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทย 2 ชั้น ชั้นล่าง มีการสาธิตปั้นตุ๊กตาชาววัง และการจัดแสดงผลงาน
- นับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสาธิตการปั้นตุ๊กตาชาววัง และเรียนรู้การปั้นตุ๊กตาด้วยดินเหนียว
- สถานที่ที่รวบรวมตุ๊กตาตามประเพณีวัฒนธรรมไทยต่างๆ ไว้มากมาย อาทิ การละเล่นของไทย วงมโหรีปี่พาทย์ สุภาษิตคำพังเพยไทย และผลไม้ไทยอีกหลากหลายชนิด
- เป็นงานปั้นที่มีความสวยงามน่ารักในรูปแบบต่างๆ และยังเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย
- ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.